เผยโฉมมาตรฐานใหม่เพื่อชลประทาน ISO 16075

shutterstock_197223314

การบำบัดน้ำเสียและการนำน้ำกลับมาใช้ซ้ำในการเกษตรเปรียบเสมือนการสร้าง แหล่งน้ำโอเอซิสท่ามกลางทะเลทราย และยังเป็นการช่วยเหลือชุมชนและส่งเสริมเศรษฐกิจอีกด้วย

ในภูมิภาคที่น้ำเป็นของหายาก น้ำเสียบำบัดสามารถชุบชีวิตชุมชนเกษตรกรรมได้ ไม่เพียงแต่จะสร้างแหล่งน้ำใหม่ที่มีความสำคัญต่อการดำรงชีวิตเท่านั้น แต่ยังส่งเสริมการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมอีกด้วย

มาตรฐานสำหรับน้ำเสียบำบัดช่วยให้ผู้ที่มีบทบาทหลักในการชลประทาน สามารถนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดและลดความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องเพื่อระบบ ชลประทานสำหรับเกษตรกรรม

ไอเอสโอหรือองค์การระหว่างประเทศว่าด้วยการมาตรฐานได้ตีพิมพ์เผยแพร่ชุด (series) มาตรฐานใหม่ล่าสุด ISO 16075 ประกอบด้วยแนวทางเพื่อการพัฒนาและการนำโครงการบำบัดน้ำเสียไปปฏิบัติให้ ประสบความสำเร็จ รวมทั้งการออกแบบ วัสดุ การก่อสร้าง และสมรรถนะซึ่งครอบคลุมประเด็นต่างๆ อย่างกว้างขวาง เช่น คุณภาพน้ำ ประเภทของการเพาะปลูกที่สามารถทำการชลประทานส่งน้ำได้ ความเสี่ยงและองค์ประกอบหลัก (เช่น เครือข่ายท่อส่งน้ำและอ่างเก็บน้ำ)

ดร.จอร์จ ทาร์ชิทสกี้ ประธานคณะกรรมการวิชาการ ISO/TC 282/SC 1 ซึ่งเป็นคณะกรรมการวิชาการที่พัฒนามาตรฐานนี้ กล่าวว่าการขาดแคลนน้ำส่งผลกระทบต่อทุกทวีปบนโลกนี้ คุณภาพน้ำกำลังลดลง และแม่น้ำ ลำธาร ทะเล แผ่นดินและพืชผลกำลังปนเปื้อนไปด้วยน้ำเสีย และได้รับผลกระทบจากการบำบัดน้ำเสียที่ไม่เหมาะสม

ดังนั้น ไอเอสโอจึงได้พัฒนาชุดของมาตรฐาน ISO 16075 ขึ้นมาเพื่อช่วยป้องกันและแก้ไขปัญหาดังกล่าว ประกอบด้วย

  • ISO 16075-1: 2015 แนวทางสำหรับการใช้น้ำเสียบำบัดเพื่อโครงการชลประทาน ส่วนที่ 1 พื้นฐานโครงการที่มีการใช้ซ้ำสำหรับชลประทานซึ่งประกอบด้วยแนวทางสำหรับองค์ ประกอบทั้งหมดของโครงการที่ใช้ในน้ำเสียบำบัดเพื่อชลประทาน
  • ISO 16075-2: 2015 แนวทางสำหรับการใช้นำเสียบำบัดเพื่อโครงการชลประทาน ส่วนที่ 2 การพัฒนาโครงการซึ่งครอบคลุมประเด็นปัญหา เช่น เกณฑ์สำหรับการออกแบบและข้อกำหนด (specification) เพื่อคุณภาพ
  • ISO 16075-3: 2015 แนวทางสำหรับการใช้น้ำเสียบำบัดเพื่อโครงการชลประทาน ส่วนที่ 3 องค์ประกอบของโครงการที่มีการใช้ซ้ำสำหรับชลประทาน ซึ่งครอบคลุมองค์ประกอบของระบบที่จำเป็นสำหรับการบำบัดน้ำเสียที่จำเป็นต้อง ใช้ในทางชลประทาน

น้ำเสียที่ได้รับการบำบัดอย่างสมบูรณ์ถือว่าเป็นทรัพยากรในอุดมคติที่จะ นำมาใช้ทดแทนทรัพยากรน้ำที่มีอยู่แล้ว ทำให้มีการฟื้นฟูสภาพดิน ลดค่าใช้จ่ายในการใช้ปุ๋ย และป้องกันความเสียหายเชิงนิเวศให้กับแหล่งน้ำ

สำหรับชุดมาตรฐาน ISO 16075 สามารถนำไปใช้เพื่อวัตถุประสงค์อื่นๆ ได้อีกด้วย เช่น การใช้น้ำบำบัดในเมือง และอุตสาหกรรมต่างๆ เป็นต้น

ที่มา: http://www.iso.org/iso/home/news_index/news_archive/news.htm?refid=Ref2023