ISO 52000 เพื่อสมรรถนะด้านพลังงานของอาคาร

ISO 52000 - Energy performance of buildings

ถ้าเราจะมองหาแหล่งกำเนิดในเมืองที่ปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เป็นจำนวนมาก อาคารระฟ้าที่เราเห็นอยู่ทั่วไปในเมืองนั่นเองที่เป็นแหล่งกำเนิดที่ปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์มากถึงหนึ่งในสามของการใช้พลังงานขั้นสุดท้ายทั้งหมดและนับเป็นครึ่งหนึ่งของการใช้ไฟฟ้าทั่วโลก

จากข้อมูลขององค์กรพลังงานระหว่างประเทศ (International Energy Agency: IEA) พบว่าการใช้พลังงานในอาคารจำเป็นจะต้องลดลงถึง 50% หากเราต้องการลดค่าเฉลี่ยของอุณหภูมิลงให้ได้ 2 องศาภายในปี 2050  ปัจจุบัน โลกของเรามีแนวทางการจำกัดอุณหภูมิโลกให้เป็นไปตามเป้าหมายนี้ด้วยการทำให้อาคารสามารถใช้พลังงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นโดยนำชุดมาตรฐาน ISO 52000 ไปใช้งาน

มาตรฐาน ISO 52000-1 Energy performance of buildings – Overarching EPB assessment – Part 1: General framework and procedures ถือเป็นเอกสารตัวแรกที่ช่วยนำทางไปสู่การใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ  สำหรับมาตรฐานในตระกูล ISO 52000 นี้จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพด้านพลังงานในอาคารนับตั้งแต่ระบบการทำความร้อน การทำความเย็น การระบายอากาศ และการควบคุมอัจฉริยะ ไปจนถึงการใช้พลังงาน หรืออุปกรณ์การผลิตต่างๆ มาตรฐานชุดนี้จะช่วยให้สถาปนิก วิศวกร และผู้ควบคุมกฎเข้าถึงประสิทธิภาพด้านพลังงานของอาคารที่มีอยู่แล้วหรืออาคารใหม่โดยมองเป็นภาพรวมซึ่งจะไม่ทำให้ค่าใช้จ่ายบานปลายและยังสามารถควบคุมอุณหภูมิภายในอาคารไม่ให้เพิ่มขึ้นได้ด้วย

Dick van Dijk และศาสตราจารย์ Essam E. Khalil ผู้ประสานงานร่วมของคณะกรรมการร่วมของไอเอสโอด้านประสิทธิภาพพลังงานด้านอาคาร (Energy Performance of Buildings (EPB) กล่าวว่าชุดมาตรฐาน ISO 52000 จะช่วยให้เข้าถึงประสิทธิภาพพลังงานโดยรวมของอาคาร ซึ่งหมายความว่าการรวมเอาเทคโนโลยีใดก็ตามเข้าด้วยกันสามารถนำมาใช้เพื่อเข้าถึงระดับของประสิทธิภาพพลังงานโดยมีค่าใช้จ่ายต่ำสุดตามที่ตั้งใจได้

ISO 52000 ประกอบด้วยวิธีการที่รัดกุมในการประเมินประสิทธิภาพด้านพลังงานซึ่งเป็นพลังงานปฐมภูมิที่ใช้ในการทำความร้อน ความเย็น ระบบแสงไฟ การระบายอากาศ รวมทั้งการใช้น้ำร้อนภายในอาคาร ซึ่งจะช่วยเร่งให้มีความก้าวหน้าในการใช้วัสดุ เทคโนโลยี และแนวทางการออกแบบอาคาร การก่อสร้าง และการจัดการ

สำหรับการก่อสร้างที่มีการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพนั้น สิ่งสำคัญประการแรก คือ การออกแบบที่มีคุณภาพสูงและฝีมือแรงงาน อาคารที่มีการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพจะต้องใช้วัสดุและผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพสูงในการก่อสร้างอาคาร ร่วมกับระบบอาคารทางเทคนิคที่มีคุณภาพสูงและเทคโนโลยีการใช้พลังงานที่สามารถนำกลับมาใช้ซ้ำได้

หัวใจของเรื่องดังกล่าวคือแนวทางเชิงระบบที่ประเมินประสิทธิภาพด้านพลังงานซึ่งต้องนำมาพิจารณาร่วมกันระหว่างปฏิสัมพันธ์ในระบบ ผู้ใช้งาน และสภาพอากาศภายนอกที่มีการผันแปรอยู่เสมอ

แนวทางเชิงระบบมีความสำคัญสำหรับนวัตกรรมเชิงเทคโนโลยีและการนำไปใช้ ประเทศที่ใช้แนวทางนี้มาหลายปี เช่น เนเธอร์แลนด์ มีประสบการณ์ในการนำพลังงานไปใช้ในสเกลใหญ่ๆ และทำให้เกิดการประหยัดได้จากเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่มีความหลากหลาย รวมถึงแนวคิดของการใช้ฉนวนกันความร้อน หน้าต่าง กระจก ความร้อน ความเย็น แสง การระบายอากาศ หรือระบบน้ำร้อนภายในอาคาร การควบคุมอาคารด้วยระบบอัตโนมัติ  และแหล่งพลังงานหมุนเวียน

มาตรฐาน EPB สามารถนำมาใช้เสริมร่วมกับชุดมาตรฐานที่ประกอบด้วยวิธีการคำนวณความร้อน ความเย็น สมรรถนะขององค์ประกอบอาคาร รวมทั้งประเด็นที่เกี่ยวข้องต่างๆ เช่น ตัวชี้วัดสมรรถนะด้านพลังงาน การจัดอันดับและใบรับรอง นอกจากนี้ ในอนาคต มาตรฐานนี้จะพิจารณาขยายองค์ประกอบเพิ่มเติมสำหรับแนวทางเชิงองค์รวมสำหรับอาคารประหยัดพลังงานด้วย

มาตรฐานชุด ISO 52000 ได้รับการพัฒนาจากคณะกรรมการวิชาการไอเอสโอ 2 คณะ ร่วมกับ คณะกรรมการยุโรปด้านการมาตรฐาน (European Committee for Standardization: CEN)  ดังนี้ 1) คณะกรรมการวิชาการไอเอสโอISO/TC 163, Thermal performance and energy use in the built environment ซึ่งมีสถาบันมาตรฐานแห่งชาติของประเทศสวีเดน (SIS) เป็นเลขานุการ 2) คณะกรรมการวิชาการ ISO/TC 205, Building environment design ซึ่งมีสถาบันมาตรฐานแห่งชาติของประเทศสหรัฐอเมริกา (ANSI) เป็นเลขานุการ และ 3) CEN/TC 371, Energy Performance of Buildings project group, and CEN/TC 89, Thermal performance of buildings and building components

ชุดมาตรฐาน 52000 สามารถศึกษาได้จากห้องสมุดของสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม หรือสั่งซื้อจากเว็บไซต์ของ ISO  ISO Store.

ที่มา: https://www.iso.org/standard/65601.html