ไอเอสโอกับวันอาหารโลก

ISO_and_World_Food_Day

การขจัดความหิวโหย (Zero Hunger) เป็นหนึ่งในเป้าหมายด้านความยั่งยืนขององค์การสหประชาชาติและยังเป็นหัวข้อในการรณรงค์วันอาหารโลกในปี 2561 ด้วย ซึ่งมาตรฐานไอเอสโอนับว่าเป็นเครื่องมืออันทรงคุณค่าที่จะช่วยให้โลกของเราก้าวไปสู่เป้าหมายในเรื่องดังกล่าวได้

จากข้อมูลขององค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ (Food and Agriculture Organization of the United Nations: FAO) ระบุว่ามีคนที่ยังมีอาหารไม่เพียงพอและหิวโหยในโลกนี้มีจำนวน 815 ล้านคน ในขณะที่มีคนที่มีน้ำหนักมากเกินไปจำนวน 1.9 พันล้านคน อย่างไรก็ตาม โลกที่ปราศจากความหิวโหยซึ่งเป็นเป้าหมายขององค์การสหประชาชาติภายในปี 2030 นั้น ไม่เพียงแต่เป็นเป้าหมายที่เป็นไปได้เท่านั้น แต่ยังเป็นหัวข้อที่วันอาหารโลกที่ FAO ทำการรณรงค์ในปีนี้ซึ่งตรงกับวันที่ 16 ตุลาคม ด้วย

วันอาหารโลกในปีนี้ FAO ได้ให้ความสำคัญในหัวข้อ “เกษตรในครัวเรือน: เลี้ยงโลกและใส่ใจโลก” (Family Farming: Feeding the World, Caring for the Earth.)

สำหรับไอเอสโอ มีมาตรฐานสากลในภาคส่วนการผลิตอาหารมากกว่า 1600 มาตรฐานที่ช่วยให้สามารถยุติความหิวโหยของโลกได้ด้วยการสร้างความมั่นใจในผลิตภัณฑ์อาหาร ปรับปรุงวิธีการด้านเกษตรกรรม และส่งเสริมการจัดซื้ออย่างมีจริยธรรมและยั่งยืน ซึ่งรวมถึงมาตรฐานอีกประมาณ 850 มาตรฐานจากคณะกรรมการวิชาการ ISO/TC 34 – Food products ซึ่งครอบคลุมทุกเรื่องนับตั้งแต่สวัสดิภาพสัตว์ไปจนถึงผลิตภัณฑ์อาหาร เช่น ธัญพืชและนม และการทดสอบส่วนผสม เป็นต้น นอกจากนี้ ยังรับผิดชอบชุดมาตรฐาน ISO 22000 ระบบการจัดการความปลอดภัยอาหาร ซึ่งครอบคลุมมาตรฐานที่เกี่ยวข้องกับการผลิตอาหาร การทำฟาร์ม การทำบรรจุภัณฑ์ การลำเลียงขนส่งอาหารสัตว์ และการผลิตอาหารสัตว์

หัวใจสำคัญของระบบอาหารที่ยั่งยืนคือการทำให้มั่นใจในความเป็นอยู่ที่ดีของทุกคนสำหรับซัพพลายเชนด้านอาหาร และปัจจุบัน ไอเอสโอกำลังดำเนินงานในเรื่องนี้อยู่

กรณีนี้ ชุดมาตรฐาน ISO 34101 sustainable and traceable cocoa beans มีเป้าหมายที่จะอำนวยความสะดวกสำหรับการปฏิบัติด้านเกษตรกรรมที่มีประสิทธิผลซึ่งช่วยปกป้องสิ่งแวดล้อมและปรับปรุงสภาพทางสังคมของชาวสวนโกโก้ซึ่งเป็นผู้เพาะปลูกรายย่อยในประเทศกำลังพัฒนาด้วย

ในคณะกรรมการวิชาการ ISO/TC 26030 ซึ่งมีการนำสาขาอาหารไปประยุกต์ใช้ใน ISO 26000 ซึ่งเป็นหนึ่งในมาตรฐานสากลที่มีการนำไปใช้อ้างอิงมากที่สุดของโลกในด้านความรับผิดชอบทางสังคม ยังได้ให้แนวทางวิธีการรวมเอาประเด็นหลักของความรับผิดชอบทางสังคมเข้าไว้ด้วยกันกับห่วงโซ่อาหาร ดังนั้น จึงมีส่วนร่วมในเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนขององค์การสหประชาชาติในด้านวิถีที่ยั่งยืน มีจริยธรรม และโปร่งใส

สำหรับผู้สนใจเรื่องของมาตรฐานไอเอสโอกับเกษตรกรรม สามารถศึกษาได้จากเว็บไซต์ของไอเอสโอ dedicated page

https://www.iso.org/news/ref2334.html