ไอเอสโอห่วงใยโลกขาดแคลนน้ำ แนะให้ใช้มาตรฐานน้ำใช้ซ้ำ

ISO-Save-The-World-for-Water-Scarcity

จากข้อมูลขององค์การน้ำแห่งสหประชาชาติระบุว่า ภายในปี 2573 (ค.ศ.2030) การขาดแคลนน้ำจะทำให้คนทั่วโลกเดือดร้อนไม่ต่ำกว่า 700 ล้านคน วันสากลแห่งน้ำจึงได้ให้ความสำคัญกับเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน ข้อ 6 ซึ่งหมายถึงการนำให้มั่นใจว่าคนทั่วโลกจะสามารถเข้าถึงน้ำและการสุขาภิบาลได้ภายในปี 2573 แต่ว่าอะไรคือสิ่งที่จะทำให้โลกของเราก้าวไปสู่เป้าหมายนั้นได้ แล้วมาตรฐานไอเอสโอมีส่วนช่วยในเรื่องนี้ได้อย่างไร

แม้ว่าน้ำจะมีครอบคลุมถึง 70% ของพื้นผิวโลก แต่มีบางส่วนเท่านั้นที่เป็นน้ำ น้ำดื่มที่หาได้มีการกระจายไปทั่วโลกไม่ทั่วถึงกัน และมีการทำให้ปนเปื้อนไปบ้าง ซึ่งหมายถึงว่าคนอีกนับพันล้านคนจะไม่สามารถเข้าถึงน้ำสะอาดได้ในแต่ละวัน สถานการณ์ปัจจุบันยังหมายถึงว่าคนจำนวน 4.5 พันล้านคนยังคงขาดแคลนบริการด้านสุขาภิบาลที่มีการบริหารจัดการอย่างปลอดภัย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในพื้นที่ชนบท

ในการเฉลิมฉลองวันสากลแห่งน้ำซึ่งตรงกับวันที่ 22 มีนาคมของทุกปี ทำให้ทั่วโลกให้ความสนใจในเรื่องความสำคัญของน้ำดิบ ซึ่งในปีนี้ให้ความสำคัญในหัวข้อ “ไม่ทิ้งใครไว้เบื้องหลัง”  และเหมาะสมกับการปรับใช้ในวาระ 2030 ซึ่งมีวาระการพัฒนาอย่างยั่งยืนสำหรับคนทั่วโลก  และเป็นโรดแม็ปขององค์การสหประชาชาติที่ต้องการเปลี่ยนแปลงโลกไปสู่สิ่งที่ดีกว่าภายในปี 2573 ซึ่งรวมถึงการอุทิศให้กับเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนข้อ 6  (SDG 6) ในเรื่องน้ำ ซึ่งไอเอสโอได้พัฒนามาตรฐานที่เกี่ยวข้องกับน้ำไปแล้วกว่า 1,400 ฉบับ และแต่ละมาตรฐานก็เป็นตัวแทนของวิธีปฏิบัติที่ดีที่สุดของภาคส่วนที่เกี่ยวข้องกับคุณภาพน้ำ น้ำประปา น้ำใช้ น้ำเสีย และระบบการกำจัดน้ำ และโครงสร้างพื้นฐาน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง มาตรฐานใหม่เรื่องการใช้น้ำซ้ำจะช่วยแก้ไขปัญหาเรื่องการขาดแคลนน้ำได้เป็นอย่างดี

ทั่วโลกมีอัตราการใช้น้ำสูงขึ้นมากกว่าสองเท่าของประชากรที่เพิ่มขึ้นเมื่อศตวรรษที่แล้ว การขาดแคลนน้ำในบางพื้นที่ที่แห้งแล้งของโลกทำให้เกิดแรงกดดันอย่างหนักในพื้นที่ในเมือง ซึ่ง 55% ของประชากรโลกอาศัยอยู่

คณะกรรมการวิชาการ ISO/TC 282 เรื่องการใช้น้ำซ้ำ โดยคณะอนุกรรมการ SC 2, Water reuse in urban areas กำลังทุ่มเทให้กับงานเกี่ยวกับวิกฤตการขาดแคลนน้ำในเมือง ซึ่งมาตรฐานสากลใหม่ ISO 20760-1 มีการให้แนวทางวิธีการใช้ประโยชน์ของน้ำเพื่อทำให้ตอบสนองความพึงพอใจเรื่องน้ำและยกระดับแรงกดดันเรื่องน้ำที่มีของพื้นที่ในเมือง

มายะ อิชิกาว่า เลขานุการของคณะกรรมการวิชาการดังกล่าวอธิบายว่า ในการเตรียมแนวทางการวางแผนและการออกแบบระบบการนำน้ำกลับมาใช้ซ้ำ  วิธีการนำน้ำกลับมาใช้ซ้ำ และวิธีการและเครื่องมือในการประเมินความเสี่ยงและสมรรถนะของระบบการนำน้ำกลับมาใช้ซ้ำนั้น  มาตรฐานของคณะกรรมการวิชาการ ISO/TC 282 จะเป็นหัวใจสำคัญของการนำน้ำกลับมาใช้อย่างมีประสิทธิภาพ และช่วยให้ภูมิภาคต่างๆ ในโลกนี้สามารถต่อสู้กับการขาดแคลนน้ำได้ นอกจากนี้ คณะกรรมการวิชาการ ISO/TC 282 ยังเน้นในเรื่องระบบการนำน้ำกลับมาใช้ซ้ำเพื่อการชลประทานและการใช้งานด้านอุตสาหกรรมด้วย

มาตรฐานหลักตัวอื่นที่เน้น SDG 6 คือ ISO 30500 ในเรื่องระบบสุขาภิบาลที่ไม่ได้เชื่อมต่อกับท่อน้ำทิ้ง  ซึ่งมีประชากรราว 1.8 พันล้านคนทั่วโลกกำลังใช้แหล่งของน้ำดื่มที่ปนเปื้อนของเสียมนุษย์ที่ส่งผลให้เกิดทุพโภชนาการและโรคภัยซึ่งข้อกำหนดพื้นฐานสำหรับการออกแบบและทดสอบหน่วยบำบัดน้ำเสียแบบแยกส่วนตามมาตรฐาน ISO 30500 จะช่วยป้องกันปัญหาดังกล่าวที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพของชุมชนต่างๆ ทั่วโลกได้เป็นอย่างดี

มาตรฐานสองฉบับนี้จะช่วยส่งเสริมความสามารถในการดำเนินงานทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมซึ่งเป็นการดำเนินงานอย่างยั่งยืนซึ่งองค์กรทั่วโลกต่างให้ความสำคัญและใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาอย่างยั่งยืน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง จะมีส่วนทำให้โลกของเราบรรลุเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนในการเข้าถึงน้ำและสุขาภิบาลของคนทั่วโลกได้ภายในปี 2573 ต่อไป

ที่มา: https://www.iso.org/news/ref2377.html