ประกาศ ขอรับข้อคิดเห็นต่อ (ร่าง) มาตรฐานคุณภาพแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร (ฉบับที่ 2) ของกรมการท่องเที่ยว

กรมการท่องเที่ยว ขอเชิญชวนผู้ประกอบการ หน่วยงานภาครัฐ รัฐวิสาหกิจ หน่วยงานเอกชน องค์กรภาคประชาชน องค์กรด้านคุ้มครองผู้บริโภค ตลอดจนประชาชนทั่วไป ร่วมแสดงความคิดเห็นและข้อเสนอแนะต่อ (ร่าง) มาตรฐานคุณภาพแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร (ฉบับที่ 2)

มาตรฐานใหม่ล่าสุดเพื่อจัดการความเสี่ยงในการเดินทาง

ISO 31030, Travel risk management – Guidance for organizations เป็นมาตรฐานฉบับใหม่ล่าสุดที่จะให้คำแนะนำแก่องค์กรทุกประเภทเกี่ยวกับวิธีจัดการความเสี่ยงในการเดินทาง คำแนะนำดังกล่าวเหมาะสำหรับองค์กรโดยให้แนวทางในการประเมินปัจจัยเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับการเดินทาง สิ่งที่สามารถทำได้หากมีเหตุการณ์ต่าง ๆ เกิดขึ้น รวมทั้งวิธีการพัฒนาแผนในการจัดการและสื่อสารด้วย

ไอเอสโอกับวันท่องเที่ยวโลก ปี 2564

เมื่อเร็วๆ นี้ ไอเอสโอได้เผยแพร่เอกสารข้อกำหนดที่สาธารณชนสามารถเข้าถึงได้ คือ ISO/PAS 5643, Tourism and related services - Requirements and guidelines to reduce the spread of COVID-19 in the tourism industry เพื่อตอบสนองต่อการระบาดใหญ่โดยตรงและลดการแพร่กระจายของ COVID-19 ในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว

สรอ. แสดงความยินดีกับสถาบันนวัตกรรมบูรณาการแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เนื่องในโอกาสได้รับเกียรติบัตร ISO 56002 ระบบการจัดการนวัตกรรม

สถาบันรับรองมาตรฐานไอเอสโอ อุตสาหกรรมพัฒนามูลนิธิ (สรอ.) หรือ MASCI โดย นางพรรณี อังศุสิงห์ ผู้อำนวยการสถาบันรับรองมาตรฐานไอเอสโอ พร้อมด้วย นายฐานิต ปิยะศิริศิลป์ ผู้อำนวยการฝ่าย ฝ่ายรับรองระบบ ร่วมแสดงความยินดีกับสถาบันนวัตกรรมบูรณาการแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เนื่องในโอกาสได้รับเกียรติบัตร ISO 56002 ระบบการจัดการนวัตกรรม วันเสาร์ที่ 23 ตุลาคม 2564 ณ ชั้น 4 อาคารเฉลิมราชกุมารี 60 พรรษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ประกาศ ขอรับข้อคิดเห็นต่อ (ร่าง) มาตรฐานคุณภาพแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร (ฉบับที่ 1) ของกรมการท่องเที่ยว

กรมการท่องเที่ยว กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาได้พัฒนาและปรับปรุงมาตรฐานคุณภาพแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร จึงขอรับข้อคิดเห็นจากหน่วยงานต่างๆที่เกี่ยวข้อง

วันสากลอากาศสะอาดเพื่อท้องฟ้าสดใส 2564

การระบาดใหญ่ของ COVID-19 ยังคงเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องและส่งผลกระทบต่อโลกของเรา โลกของเราก็จำเป็นต้องทำงานร่วมกัน สำหรับไอเอสโอหรือองค์การระหว่างประเทศว่าด้วยการมาตรฐาน มีมาตรฐานหลายร้อยมาตรฐานที่แสดงถึงความเห็นพ้องต้องกันระหว่างประเทศเกี่ยวกับการแก้ไขปัญหามลพิษทางอากาศทั้งภายในอาคารและกลางแจ้ง ซึ่งรวมถึงมาตรฐานสำหรับการวัดมลพิษทางอากาศและการปล่อยมลพิษ อากาศในที่ทำงาน อากาศภายในอาคาร และเทคโนโลยีที่ลดมลภาวะทั้งภายในและภายนอก

ถอดบทเรียน Covid-19 พลิกวิกฤตเป็นโอกาส

เอกสารข้อกำหนดทางวิชาการ ISO/TS 22393 ได้ให้แนวทางในการพัฒนาแผนการกู้คืนและกลยุทธ์การทำให้เกิดการดำเนินงานขึ้นมาใหม่ (renewal) จากเหตุฉุกเฉิน ภัยพิบัติ หรือวิกฤตที่สำคัญ เช่น การระบาดใหญ่ของ COVID-19 โดยให้แนวทางในการระบุกิจกรรมการทำธุรกรรมระยะสั้นที่จำเป็นในการสะท้อนและเรียนรู้ ทบทวนความพร้อมของส่วนต่างๆ ของระบบที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤต และการกลับคืนสู่สถานะการดำเนินงานเพื่อสร้างการเตรียมพร้อม นอกจากนี้ ยังแยกแยะมุมมองการกู้คืนระยะยาวที่เรียกว่าการกลับเข้าสู่การดำเนินงานอีกครั้ง (Renewal)

สรอ. แสดงความยินดีกับสถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ เนื่องในโอกาสได้รับการรับรองระบบบริหารงานคุณภาพ (ISO 9001:2015)

นางพรรณี อังศุสิงห์ ผู้อำนวยการสถาบันรับรองมาตรฐานไอเอสโอ อุตสาหกรรมพัฒนามูลนิธิ สถาบันเครือข่ายของกระทรวงอุตสาหกรรม (สรอ.) หรือ MASCI พร้อมด้วย นายฐานิต ปิยะศิริศิลป์ ผู้อำนวยการฝ่ายรับรองระบบ มอบใบรับรองระบบบริหารงานคุณภาพ มอก. 9001-2559 (ISO 9001:2015) แก่สถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ หรือ สทป. ในงาน “การแถลงผลการดำเนินงานรอบ 1 ปี และพิธีรับมอบใบรับรองระบบการบริหารงานคุณภาพ ISO 9001:2015” และกล่าวถึงความสำคัญของระบบบริหารงานคุณภาพ (ISO 9001:2015) เมื่อ 20 กันยายน 2564 ณ ห้องโถงชั้น 10 อาคารสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม (แจ้งวัฒนะ)

สรุปผลการดำเนินโครงการ SME Promotion Project I-V และการพัฒนา SME ดำเนินการโดยสรอ.

สรอ. เห็นความสำคัญของการพัฒนากำลังคนและโครงสร้างพื้นฐานของประเทศด้านมาตรฐานการบริหารจัดการและการตรวจสอบรับรองตามแนวทางสากลเพื่อขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ โดยเฉพาะกลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมายของประเทศ รวมทั้ง SME/VSE/Start Up ร่วมกับหน่วยงานเครือข่าย ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคการศึกษาและภาคประชาชน จึงได้ส่งเสริมการพัฒนาและยกระดับมาตรฐานของ SME/VSE/Star Up ให้มีขีดความสามารถในการแข่งขันในระดับโลกและเติบโตได้อย่างยั่งยืน ตาม “เส้นทางการพัฒนาสู่ความยั่งยืน (Roadmap to Sustainability)”

มาตรฐานใหม่ช่วยองค์กรจัดการเพื่อความโปร่งใส

เมื่อปลายเดือนกรกฎาคม 2564 ไอเอสโอได้เผยแพร่มาตรฐานที่มีชื่อว่า ISO 37002, Whistleblowing management systems – Guidelines ซึ่งเป็นมาตรฐานระบบการจัดการการแจ้งเบาะแสซึ่งให้แนวทางสำหรับการนำไปใช้ การจัดการ การประเมิน การบำรุงรักษา และปรับปรุงระบบการจัดการที่แข็งแกร่งและมีประสิทธิภาพสำหรับการแจ้งเบาะแส ซึ่งสามารถใช้ได้กับองค์กรทุกประเภท ทุกขนาด รวมทั้ง SMEs และองค์กรที่ดำเนินงานระหว่างประเทศ