สรอ. แสดงความยินดีกับ บริษัท สยามไวร์ อินดัสทรี จำกัด เนื่องในโอกาสได้รับการรับรองระบบการจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย (ISO 45001)

นางพรรณี อังศุสิงห์ ผู้อำนวยการสถาบันรับรองมาตรฐานไอเอสโอ อุตสาหกรรมพัฒนามูลนิธิ สถาบันเครือข่ายของกระทรวงอุตสาหกรรม (สรอ.) หรือ MASCI พร้อมด้วย นายธีระพันธุ์ จันทร์แก้ว ผู้จัดการแผนกอาวุโส แผนกส่งเสริมการตรวจ และเจ้าหน้าที่ สรอ. ร่วมแสดงความยินดีกับบริษัท สยามไวร์ อินดัสทรี จำกัด เนื่องในโอกาสที่ได้รับการรับรองระบบการจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย มอก. 45001-2561 (ISO 45001:2018) ณ ห้อง SHARING ชั้น 18 สถาบันรับรองมาตรฐานไอเอสโอ เมื่อ 19 กุมภาพันธ์ 2564

คาร์บอนฟุตพริ้นท์สำหรับอาหารทะเล

มาตรฐานใหม่ระบุรายละเอียดกฎการแบ่งหมวดหมู่ของผลิตภัณฑ์ (PCR) สำหรับการคำนวณและการสื่อสารของคาร์บอนฟุตพริ้นท์ของอาหารทะเลที่กำหนดไว้ใน ISO 14067:2018, Greenhouse gases – Carbon footprint of products – Requirements and guidelines for quantification. ซึ่งมาตรฐานนี้จะช่วยให้เข้าใจผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมของผลิตภัณฑ์มากขึ้น โดยสามารถอธิบายให้ผู้บริโภคเข้าใจได้ด้วยเช่นกัน

ไอเอสโอออกมาตรฐานใหม่ช่วยจัดการทรัพย์สินทางปัญญา

มาตรฐาน ISO 56005, Innovation management – Tools and methods for intellectual property management – Guidance เป็นมาตรฐานที่ให้แนวทางและกลยุทธ์ในการช่วยให้องค์กรปกป้องแนวคิดที่ดีที่สุดขององค์กร และใช้นวัตกรรมให้เกิดประโยชน์สูงสุด มาตรฐานนี้เน้นในเรื่องกรอบการทำงานของการบริหารจัดการทรัพย์สินทางปัญญา เครื่องมือการบริหารความเสี่ยง และวิธีการใช้ประโยชน์จากทรัพย์สินทางปัญญา เป็นต้น

สรอ. ร่วมงานแถลงข่าว “การสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้บริโภค ด้วยการรับรองตนเอง (Self-Declaration) ในสถานประกอบการอุตสาหกรรม เพื่อควบคุม ติดตามและป้องกันการปนเปื้อนของเชื้อ COVID-19″ โดยความร่วมมือของ อก., สอท. และ สธ.

กระทรวงอุตสาหกรรม โดยนายกอบชัย สังสิทธิสวัสดิ์ ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม ร่วมแถลงข่าว “การสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้บริโภค ด้วยการรับรองตนเอง (Self-Declaration) ในสถานประกอบการอุตสาหกรรม เพื่อควบคุม ติดตามและป้องกันการปนเปื้อนของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019” โดยมีนายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข และนายสุพันธุ์ มงคลสุธี ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ร่วมแถลงข่าว ณ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย เมื่อ 21 มกราคม 2564 ซึ่งสถาบันรับรองมาตรฐานไอเอสโอ อุตสาหกรรมพัฒนามูลนิธิ สถาบันเครือข่ายของกระทรวงอุตสาหกรรม (สรอ.) หรือ MASCI โดยนางพรรณี อังศุสิงห์ ผู้อำนวยการสถาบัน ร่วมงาน

โครงการตรวจประเมินสถานประกอบการที่ขอเทียบระดับหรือเลื่อนระดับสู่อุตสาหกรรมสีเขียว ระดับที่ 3-5 (ภายใต้ค่าใช้จ่ายในการจัดการมลพิษและสิ่งแวดล้อม) ปี 2564

กรมโรงงานอุตสาหกรรม ได้มอบหมายให้สถาบันรับรองมาตรฐานไอเอสโอ ดำเนินงานโครงการตรวจประเมินสถานประกอบการที่ขอเทียบระดับหรือเลื่อนระดับสู่อุตสาหกรรมสีเขียว ระดับที่ 3-5 (ภายใต้ค่าใช้จ่ายในการจัดการมลพิษและสิ่งแวดล้อม) ปี 2564 โดยมีระยะเวลาดำเนินงาน 8 เดือน (เริ่มตั้งแต่วันที่ 11 มกราคม ถึง 10 กันยายน 2564)

ขอเชิญชวนผู้ประกอบการ เข้าร่วมการอบรมหลักสูตรบุคลากรเฉพาะด้านความรับผิดชอบต่อสังคมประจำโรงงาน

สถาบันรับรองมาตรฐานไอเอสโอ ได้รับมอบหมายจากกรมโรงงานอุตสาหกรรมในการเป็นหน่วยจัดอบรมหลักสูตรบุคลากรเฉพาะด้านความรับผิดชอบต่อสังคมประจำโรงงาน จึงกำหนดการจัดอบรม หลักสูตรบุคลากรเฉพาะด้านความรับผิดชอบต่อสังคมประจำโรงงาน หากท่านสนใจสามารถสมัครได้ตั้งแต่วันนี้

Kick off Made in Thailand

สิ้นสุดการรอคอยกับโอกาสการเข้าสู่ช่องทางการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ ซึ่งเป็นตลาดที่ใหญ่ที่สุดของประเทศ ! กับแต้มต่อสินค้า Made in Thailand

อุตสาหกรรมพัฒนามูลนิธิ ดันยุทธศาสตร์ 4.0 เสริมแกร่งอุตสาหกรรมไทย ฝ่าโควิด-19

อุตสาหกรรมพัฒนามูลนิธิ ทำแผนเชิงรุกรับศักราชใหม่ 2564 ผลักดันยุทธศาสตร์ 4.0 ใช้เทคโนโลยี ปรับตัวสู้ภัยโควิด-19 ส่งมอบนโยบายให้สถาบันเครือข่ายทั้ง 8 สถาบัน เร่งขับเคลื่อนภาคอุตสาหกรรมด้านต่าง ๆ รวมถึง Start Up เอสเอ็มอี วิสาหกิจชุมชนทั้งขนาดกลางและขนาดย่อม รวมพลังฝ่าวิกฤตไปด้วยกัน พร้อมยังมุ่งสนับสนุนให้ความช่วยเหลือการศึกษาวิชาการในทางอุตสาหกรรมอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเร่งสร้างองค์ความรู้ในภาคอุตสาหกรรมในยุควิถีใหม่ (New Normal)

ไอเอสโอห่วงใยความปลอดภัยคนทำงานในภาวะโรคระบาด

ในขณะที่มาตรฐานสากลโดยเฉลี่ยใช้เวลาในการพัฒนาถึง 3 ปี แต่เอกสารมาตรฐานไอเอสโอที่เรียกว่าข้อกำหนดที่สาธารณชนสามารถเข้าถึงได้ (ISO/PAS – Publicly Available Specification) นั้นใช้เวลาพัฒนาในช่วงสั้น ๆ เท่านั้นดังเช่น เอกสาร ISO/PAS 45005, Occupational health and safety management – General guidelines for safe working during the COVID-19 pandemic ซึ่งใช้เวลาพัฒนาเพียง 3 เดือนเท่านั้นเพื่อตอบสนองสถานการณ์โรคระบาด COVID-19 และความจำเป็นเร่งด่วนซึ่งต้องใช้ข้อมูลที่เป็นปัจจุบันเท่านั้น

“วันดินโลก” เรียนรู้ปฐพีจากศาสตร์พระราชา

“รักษ์ปฐพี คืนชีวีที่หลากหลายให้ผืนดิน” (Keep Soil Alive, Protect Soil Biodiversity) เป็นหัวข้อหลักของการรณรงค์ “วันดินโลก” ในปี 2563 ซึ่งทั่วโลกรวมทั้งประเทศไทยได้จัดกิจกรรมเพื่อรณรงค์และเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับดินและการจัดการทรัพยากรดินเพื่อประโยชน์ของมนุษยชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างเป็นรูปธรรม