คำถามเพื่อการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน ตอนที่ 2

SDG-How-to-do-good-and-do-well-II

บทความเรื่อง คำถามเพื่อการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน  ตอนที่ 1 ได้กล่าวถึงวิธีการดำเนินธุรกิจให้ยั่งยืนไปพร้อมๆ กับการสร้างผลกำไร ซึ่งจากบทความในวารสาร Sloan Management Review ระบุว่าเราสามารถจัดการเรื่องนี้ได้อย่างเป็นรูปธรรม  ทั้งนี้ จากการศึกษาของคณะกรรมการว่าด้วยมาตรฐานทางบัญชีความยั่งยืน (Sustainability Accounting Standards Board: SASB) พบว่าบริบทของ SDGs ในแนวคิดเรื่องประเด็นสำคัญ (Materiality) เป็นศูนย์กลางของการเชื่อมผลลัพธ์ ESG (Environment, Social and Governance)  กับผลกระทบของ SDGs (Sustainable Development Goals)

ในรายงานทางการเงิน ประเด็นดังกล่าวเป็นเรื่องสำคัญสำหรับนักลงทุน ประเด็น  SDGs ยังเพิ่มความสำคัญมากขึ้นรวมทั้งในประเด็น ESG ด้วย SASB ได้ระบุประเด็น ESG ที่สำคัญใน 10 สาขาอุตสาหกรรม (แบ่งออกเป็น 79 สาขาอุตสาหกรรม) และใน Provisional Standards ซึ่งเป็นมาตรฐานที่ SASB พัฒนาขึ้นสำหรับอุตสาหกรรมทั้ง 79 สาขา ได้รับการแนะนำให้เป็นตัวชี้วัด (KPIs) ในรายงานการทางการเงินด้วย

เราสามารถคาดเดาล่วงหน้าถึงผลสำเร็จของ SDGs ได้ด้วยการปรับปรุงผลลัพธ์ของ ESG ผ่านกระบวนการ 3 ขั้นตอน คือ ทำความเข้าใจผลลัพธ์ของ ESG ซึ่งเป็นประเด็นสำคัญสำหรับบริษัท กำหนดวิธีที่สมรรถนะของผลลัพธ์ที่มีส่วนสำคัญใน SDGs ข้อใดข้อหนึ่งหรือมากกว่านั้น และสุดท้าย ติดตามการปรับปรุงสมรรถนะของผลลัพธ์ ESG ที่มีผลกระทบต่อ SDGs

เพื่อทำความเข้าใจถึงความสัมพันธ์ระหว่างผลลัพธ์ของ ESG และผลกระทบของ SDG จึงทำการจับคู่ประเด็นทั้งสองโดยใช้โมเดลที่พัฒนาโดยทรูแวลูแล็บส์ แล้วทำการจับคู่ประเด็นสำคัญที่ระบุสำหรับทั้ง 79 สาขาอุตสาหกรรมสำหรับ SDG 16 หัวข้ออีกครั้ง ซึ่งผู้นำองค์กรจะต้องเข้าใจในการสร้างคุณค่าให้กับผู้ถือหุ้นและมีส่วนสำคัญใน SDGs  ซึ่งพวกเขาได้ทำการคำนวณดัชนีผลกระทบ SDG ของอุตสาหกรรม (ซึ่งมีวิธีการต่างๆ เช่น ใช้อัตราส่วนระหว่างจำนวนประเด็นสำคัญของ ESG ที่เกี่ยวข้องกับ SDG และจำนวนประเด็นสำคัญที่เกี่ยวข้องกับ SDG แล้วคูณด้วยหนึ่งร้อย และวิธีการอื่นๆ เป็นต้น) การคำนวณนี้แสดงให้เห็นว่าแต่ละสาขาหรือภาคส่วนของอุตสาหกรรม มี SDGs เฉพาะด้านซึ่งมีผลกระทบสูง สำหรับแต่ละ SDG มีบางสาขาที่มีผลกระทบสูงและยังมีความสำคัญมากกว่า SDG ในภาพรวมมากกว่าสาขาอื่น เช่น  สาขาการบริโภคมีผลกระทบในวงกว้างโดยเฉพาะ สำหรับ SDG ข้อ 2 (การยุติความหิวโหย) และข้อ 15 (ระบบนิเวศน์ที่ยั่งยืน) เป็นต้น ซึ่งผลลัพธ์พบว่า SDG ทั้ง 16 ข้อ (ไม่นับข้อ 17 ซึ่งเป็นเรื่องของความร่วมมือหรือหุ้นส่วนเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน)  ส่งผลกระทบต่อภาคส่วนที่สำคัญมากที่สุด 3 ลำดับแรก ดังต่อไปนี้

  1. SDG ข้อ 1 (ขจัดความยากจน) และข้อ 2 (ขจัดความหิวโหย) ส่งผลต่อการดูแลสุขภาพ การบริโภค และทรัพยากรที่ไม่สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้
  2. SDG ข้อ 3 (มีสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดี) ส่งผลต่อการบริโภค การดูแลสุขภาพ และการแปลงทรัพยากร
  3. SDG ข้อ 4 (การศึกษาที่เท่าเทียม) ส่งผลต่อการดูแลสุขภาพ การบริโภค และการบริการ
  4. SDG ข้อ 5 (ความเท่าเทียมทางเพศ) ส่งผลต่อการดูแลสุขภาพ เทคโนโลยีและการสื่อสาร และการบริโภค
  5. SDG ข้อ 6 (การจัดการน้ำและการสุขาภิบาล) ส่งผลต่อการดูแลสุขภาพ การบริโภค และทรัพยากรที่ไม่สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้
  6. SDG ข้อ 7 (พลังงานสะอาดที่ทุกคนเข้าถึงได้) ส่งผลต่อการแปลงทรัพยากร การดูแลสุขภาพ และทรัพยากรที่ไม่สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้
  7. SDG ข้อ 8 (การจ้างงานที่มีคุณค่าและการเติบโตทางเศรษฐกิจ) ส่งผลต่อการดูแลสุขภาพ การแปลงทรัพยากร และทรัพยากรที่ไม่สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้
  8. SDG ข้อ 9 (อุตสาหกรรม นวัตกรรม และโครงสร้างพื้นฐาน) ส่งผลต่อการดูแลสุขภาพ เทคโนโลยีและการสื่อสาร และการแปลงทรัพยากร
  9. SDG ข้อ 10 (ลดความเหลื่อมล้ำ) ส่งผลต่อเทคโนโลยีและการสื่อสาร การดูแลสุขภาพ และการเงิน
  10. SDG ข้อ 11 (ชุมชนและเมืองที่ยั่งยืน) ส่งผลต่อทรัพยากรที่ไม่สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้ การดูแลสุขภาพ และทรัพยากรที่สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้และพลังงานทางเลือก
  11. SDG ข้อ 12 (การบริโภคและการผลิตที่ยั่งยืน) ส่งผลต่อการแปลงทรัพยากร ทรัพยากรที่ไม่สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้ และการบริโภค
  12. SDG ข้อ 13 (การรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ) ส่งผลต่อการบริโภค การแปลงทรัพยากร และทรัพยากรที่สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้และพลังงานทางเลือก
  13. SDG ข้อ 14 (การใช้ประโยชน์จากมหาสมุทรและทรัพยากรทางทะเล) ส่งผลต่อทรัพยากรที่ไม่สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้ การแปลงทรัพยากร และการบริโภค
  14. SDG ข้อ 15 (การใช้ประโยชน์จากระบบนิเวศทางบก) ส่งผลต่อการบริโภค การดูแลสุขภาพ และการแปลงทรัพยากร
  15. SDG ข้อ 16 (ความร่วมมือเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน) ส่งผลต่อการดูแลสุขภาพ เทคโนโลยีและการสื่อสาร และการแปลงทรัพยากร

ทั้งนี้ โดยรวมแล้ว ภาคส่วนที่มีความสำคัญมากที่สุด 4 อันดับแรกต่อ SDGs ได้แก่ การดูแลสุขภาพ การบริโภค การแปลงทรัพยากร และทรัพยากรที่ไม่สามารถหมุนเวียนกลับมาใช้ได้อีก ซึ่งธุรกิจสามารถนำไปพิจารณาประยุกต์ใช้ได้ด้วยการใช้ตัวชี้วัดสมรรถนะด้าน ESG ของ SASB ในการพิจารณาวิธีการดำเนินธุรกิจให้ยั่งยืนไปพร้อมๆ กับการสร้างผลกำไร เช่น การระบุและวิเคราะห์กลุ่มเป้าหมายสำหรับภาคส่วนที่มีความสำคัญมากที่สุดต่อการลงทุนละความร่วมมือระหว่างภาครัฐและภาคเอกชน เป็นต้น

ผู้สนใจรายละเอียดสามารถศึกษาได้จากบทความใน Sloan Management Review ฉบับเดือนกุมภาพันธ์ 2561

ที่มา :

  1. https://sloanreview.mit.edu/article/supporting-sustainable-development-goals-is-easier-than-you-might-think/
  2. https://www.sasb.org/
  3. https://www.sasb.org/sectors/resource-transformation/