คำถามเพื่อการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน ตอนที่ 1

SDG-How-to-do-good-and-do-well-I

เมื่อเร็วๆ นี้ วารสาร Sloan Management Review ได้ตีพิมพ์บทความที่น่าสนใจเกี่ยวกับการดำเนินธุรกิจโดยตั้งคำถามว่าจะดำเนินธุรกิจให้ยั่งยืนไปพร้อมๆ กับการสร้างผลกำไรได้อย่างไร

มีคำถามสำหรับบริษัทและนักลงทุนว่าจะสนับสนุนเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน (Sustainable Development Goal: SDG) ภายในปี 2573 (ค.ศ.2030) ทั้ง 17 ข้อได้อย่างไร และอะไรคือสิ่งที่ใกล้เคียงที่สุดกับกลยุทธ์ขององค์กรในเรื่องดังกล่าว

เนื่องจากภาคเอกชนเพียงอย่างเดียวไม่มีทรัพยากรเพียงพอที่จะสนับสนุนเป้าหมายทั้งหมดดังกล่าวได้ ในขณะเดียวกัน บริษัทก็ต้องสร้างคุณค่าให้กับผู้ถือหุ้นเพื่อสร้างผลกำไรสูงสุด ดังนั้น จึงมักถูกตั้งคำถามว่าแล้วจะทำดีและทำกำไรไปพร้อมๆ กันได้อย่างไร

อย่างไรก็ตาม การวัดผลในด้านเศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อม ไม่เหมือนกับการวัดผลสมรรถนะทางการเงินที่มีมาตรฐานตายตัว ดังนั้น จึงมีระบบนิเวศขนาดใหญ่ขององค์กรไม่แสวงหาผลกำไรและผู้ค้าข้อมูลที่พยายามจะแก้ปัญหาดังกล่าว  และทั้งบริษัทต่างๆ และนักลงทุนต่างก็พยายามหาทางทำทุกอย่างเพื่อแก้ไขปัญหานี้ แต่บริษัทก็ยังคงมีคำถามว่าแล้วผู้ถือหุ้นจะได้รับผลตอบแทนในระยะยาวหรือไม่  และเป้าหมายทั้ง 17 ข้อ 169 เป้าหมายนั้นเกี่ยวข้องกับการปรับปรุงของโลกในขณะที่ ESG metrics (ESG: Environment, Social and Governance) คือเรื่องของสมรรถนะขององค์กร  อะไรคือสิ่งที่หายไประหว่างทางที่จะแสดงถึงความสัมพันธ์กันของทั้งสองสิ่ง

ในส่วนของนักลงทุนก็ยังคงมีความกังวลใจเกี่ยวกับบริษัทที่มีผลงานน้อยมากในการอธิบายถึงวิธีที่สมรรถะของ ESG มีส่วนทำให้เกิดสมรรถนะทางการเงิน

เมื่อปราศจากการสนับสนุนอย่างแข็งขันจากชุมชนการลงทุน ชุมชนของบริษัทก็ไม่สามารถสร้างการมีส่วนร่วมที่จำเป็นในอันที่จะบรรลุถึงเป้าหมายภายปี 2030 ได้

ความท้าทายเหล่านี้เป็นสิ่งที่สามารถจัดการได้ โดยหัวใจสำคัญปรากฎอยู่ในงานของคณะกรรมการว่าด้วยมาตรฐานทางบัญชีความยั่งยืน (Sustainability Accounting Standards Board: SASB) ในบริบทของ SDGs ในแนวคิดเรื่องประเด็นสำคัญ (Materiality) ซึ่งเป็นศูนย์กลางของการเชื่อมผลลัพธ์ ESG กับผลกระทบของ SDGs

ในรายงานทางการเงิน ประเด็นดังกล่าวเป็นเรื่องสำคัญสำหรับนักลงทุน ประเด็น  SDGs ยังเพิ่มความสำคัญมากขึ้นรวมทั้งในเประเด็น ESG ด้วย SASB ได้ระบุประเด็น ESG ที่สำคัญใน 10 สาขาอุตสาหกรรม (แบ่งออกเป็น 79 สาขาอุตสาหกรรม) และใน Provisional Standards ซึ่งเป็นมาตรฐานที่ SASB พัฒนาขึ้นสำหรับอุตสาหกรรมทั้ง 79 สาขา และได้รับการแนะนำให้เป็นตัวชี้วัด (KPIs) ในรายงานการทางการเงินด้วย

ในขณะที่ตัวชี้วัดระดับอุตสาหกรรมของ SASB เป็นการแสดงผลลัพธ์ของ ESG ผลลัพธ์เหล่านี้ก็มีผลกระทบต่อองค์กรและคนที่อยู่นอกองค์กรด้วย ซึ่งมีส่วนสำคัญที่ส่งผลต่อ SDGs ดังนั้น ความสัมพันธ์ระหว่างผลลัพธ์ ESG และผลกระทบของ SDG จึงมีอยู่ตามแนวคิดในเรื่องประเด็นสำคัญดังกล่าว ทั้งนี้ เราสามารถคาดเดาล่วงหน้าถึงผลสำเร็จของ SDGs ได้ด้วยการปรับปรุงผลลัพธ์ของ ESG ผ่านกระบวนการ 3 ขั้นตอน คือ ทำความเข้าใจผลลัพธ์ของ ESG ซึ่งเป็นประเด็นสำคัญสำหรับบริษัท กำหนดวิธีที่สมรรถนะของผลลัพธ์ที่มีส่วนสำคัญใน SDGs ข้อใดข้อหนึ่งหรือมากกว่านั้น และสุดท้าย ติดตามการปรับปรุงสมรรถนะของผลลัพธ์ ESG ที่มีผลกระทบต่อ SDGs

ตัวอย่างเช่น การสร้างงานโดยบริษัทหนึ่งคือผลลัพธ์ของ ESG และผลกระทบของ SDG จะรวมถึงการรู้หนังสือมากขึ้น (SDG ข้อ 4 คือการศึกษาที่มีคุณภาพ) เนื่องจากมีเด็กจำนวนมากขึ้นที่สามารถเรียนจบแทนที่จะต้องไปทำงานเลี้ยงครอบครัว หรือการปล่อยก๊าซคาร์บอนของบริษัทมีความเกี่ยวข้องกับ SDG ข้อ 13 ในเรื่องปฏิบัติการด้านสภาพภูมิอากาศ  ดังนั้น เราจึงวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างประเด็นสำคัญของ ESG และ SDGs ได้

เพื่อทำความเข้าใจถึงความสัมพันธ์ระหว่างผลลัพธ์ของ ESG และผลกระทบของ SDG จึงทำการจับคู่ประเด็นทั้งสองโดยใช้โมเดลที่พัฒนาโดยทรูแวลูแล็บส์ แล้วทำการจับคู่ประเด็นสำคัญที่ระบุสำหรับทั้ง 79 สาขาอุตสาหกรรมสำหรับ SDG 16 หัวข้ออีกครั้ง ซึ่งผู้นำองค์กรจะต้องเข้าใจในการสร้างคุณค่าให้กับผู้ถือหุ้นและมีส่วนสำคัญใน SDGs รายละเอียดจะเป็นอย่างไรและจะนำแนวคิดไปประยุกต์ใช้ในธุรกิจได้อย่างไร โปรดติดตามในตอนต่อไปซึ่งเป็นตอนจบค่ะ

ที่มา :

  1. https://sloanreview.mit.edu/article/supporting-sustainable-development-goals-is-easier-than-you-might-think/
  2. https://www.sasb.org/
  3. https://www.sasb.org/sectors/resource-transformation/