องค์กรก้าวไกลด้วยมาตรฐานสากล

การนำมาตรฐานไปใช้ทำให้เกิดประโยชน์มากมาย เช่น ปรับปรุงกระบวนการภายในบริษัท ลดของเสียและต้นทุนภายใน เพิ่มประสิทธิภาพของการวิจัยและพัฒนา สร้างสรรค์กระบวนการทางธุรกิจและนำไปสู่การพัฒนานวัตกรรม ทำให้ลดความเสี่ยงต่าง ๆ ลง ช่วยให้มีการขยายตลาดทั้งในประเทศและต่างประเทศ และสนับสนุนการพัฒนาผลิตภัณฑ์และตลาดใหม่ เป็นต้น

ตอบโจทย์การจัดการนวัตกรรมได้ด้วย ISO 56002

มาตรฐาน ISO 56002, Innovation management – Innovation management system – Guidance เป็นมาตรฐานที่ให้แนวทางปฏิบัติเพื่อให้องค์กรทุกประเภทสามารถนำไปประยุกต์เป็นแนวทางในการจัดทำ รักษา และพัฒนาแนวปฏิบัติในการจัดการนวัตกรรมอย่างเป็นระบบ สามารถพัฒนาและก้าวไปสู่การเป็นองค์กรนวัตกรรมจนกระทั่งประสบความสำเร็จในการสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ บริการ กระบวนการ และรูปแบบธุรกิจใหม่

สานฝันนวัตกรให้กลายเป็น “นวัตกรรม” ด้วย ISO 56002 ตอนที่ 1

อันที่จริงแล้ว ธุรกิจหรืองค์กรทุกประเภทสามารถสร้างสรรค์สิ่งใหม่ ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพและมีประสิทธิผลด้วยการพิจารณาถึงกิจกรรมและองค์ประกอบอื่นที่เกี่ยวข้องแล้วจัดการอย่างเป็นระบบ ซึ่งไอเอสโอได้พัฒนามาตรฐาน ISO 56002 ที่ทุกองค์กรสามารถนำไปใช้ได้ทันทีเพื่อให้เกิดนวัตกรรมได้อย่างสมบูรณ์แบบและใช้เวลาไม่นานนักเนื่องจากมาตรฐานนี้ครอบคลุมเรื่องที่เกี่ยวข้องกับนวัตกรรม

สานฝันนวัตกรให้กลายเป็น “นวัตกรรม” ด้วย ISO 56002 ตอนที่ 2

โซนี่โมบายล์ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโซนี่ คอร์ปอเรชั่น บริษัทผู้ผลิตหม้อหุงข้าวไฟฟ้ารายแรกของโลกเมื่อปี 2501 (ค.ศ.1958) ได้ให้ความสนใจในเรื่องของนวัตกรรมในด้านวิศวกรรมศาสตร์และออกแบบเสียง วิดีโอ เกม และการสื่อสารเพื่อให้บริษัทยังคงมีผลิตภัณฑ์ล้ำยุคออกมาจำหน่ายอยู่เสมอ โซนี่เชื่อมั่นว่านวัตกรรมเป็นสิ่งที่จะทำให้ธุรกิจประสบความสำเร็จในระยะยาว และสามารถอยู่รอดได้อย่างยั่งยืนในที่สุด

สานฝันนวัตกรให้กลายเป็น “นวัตกรรม” ด้วย ISO 56002 ตอนที่ 3

โดยทั่วไป ธรรมชาติของงานมักมีวิวัฒนาการและเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วเช่นเดียวกับเทคโนโลยี และในการทำงานจะต้องมีการจัดการอย่างซับซ้อนขึ้นกับกลุ่มคนที่มีความสามารถสูง แต่เมื่อคนคุ้นเคยกับการทำงานในโครงการที่แตกต่างกัน เราจะเห็นว่าความคิดสร้างสรรค์ก็เติบโตขึ้นเช่นกัน และก้าวไปพร้อมกับความเข้าใจที่ลึกซึ้งและกว้างขวางขึ้นเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์และผู้ใช้ผลิตภัณฑ์อันเป็นการปรับปรุงอย่างต่อเนื่องซึ่งเปรียบเสมือนวงล้อที่หมุนไปข้างหน้าเพื่อสร้างสรรค์สิ่งที่ดีขึ้น

“โคเวิร์คกิ้งสเปซ” ออฟฟิศในฝันที่ทำให้ทุกบริษัทเติบโตไปด้วยกัน

ปัจจุบัน ทั่วโลกมีการใช้โคเวิร์คกิ้งสเปสร่วมกันมากกว่า 19,000 แห่งและมีสมาชิกมากกว่า 1.74 ล้านคน อุตสาหกรรมโคเวิร์คกิ้งสเปสกำลังเป็นคลื่นลูกใหม่ที่สนับสนุนประสบการณ์ที่ดีของสตาร์ทอัพและฟรีแลนซ์ต่างๆ รวมทั้งเอสเอ็มอีและธุรกิจขนาดใหญ่ (กรุงเทพมหานครก็มีโคเวิร์คกิ้งสเปซอยู่เป็นจำนวนมากเช่นกัน เช่น HUBBA, Glowfish, Spaces, Regus, Too fast to sleep, Naplab, NestDots เป็นต้น)

ไอเอสโอทบทวนมาตรฐานระบบหน่วยวัด

เราจะรู้ได้อย่างไรว่าเมื่อไรที่หนึ่งกิโลกรัมมีน้ำหนักหนึ่งกิโลกรัม แล้วเราสามารถวัดกระแสไฟฟ้าได้อย่างแม่นยำได้อย่างไร ความคงที่ในปริมาณและหน่วยวัดเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการวัดที่แม่นยำและจะทำได้ก็ต่อเมื่อทุกคนใช้ “ภาษา” เดียวกัน และภาษานั้นก็คือ มาตรฐานชุด ISO/IEC 80000 นั่นเอง ซึ่งปัจจุบันอยู่ในระหว่างการทบทวนมาตรฐาน