แนะนำมาตรฐานใหม่ล่าสุด เสริมแกร่ง ISO 45001

ไอเอสโอได้เผยแพร่มาตรฐาน ISO 45002 เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2566 ซึ่งจัดทำโดยคณะกรรมการวิชาการ ISO/TC 283, Occupational Health and Safety Management โดยให้คำแนะนำเกี่ยวกับการจัดทำ การใช้งาน การบำรุงรักษา และการปรับปรุงอย่างต่อเนื่องของระบบการจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย (OH&S) ที่สามารถช่วยให้องค์กรปฏิบัติตาม ISO 45001 ได้อย่างมีประสิทธิภาพและครอบคลุม

องค์กรก้าวไกลด้วยมาตรฐานสากล

การนำมาตรฐานไปใช้ทำให้เกิดประโยชน์มากมาย เช่น ปรับปรุงกระบวนการภายในบริษัท ลดของเสียและต้นทุนภายใน เพิ่มประสิทธิภาพของการวิจัยและพัฒนา สร้างสรรค์กระบวนการทางธุรกิจและนำไปสู่การพัฒนานวัตกรรม ทำให้ลดความเสี่ยงต่าง ๆ ลง ช่วยให้มีการขยายตลาดทั้งในประเทศและต่างประเทศ และสนับสนุนการพัฒนาผลิตภัณฑ์และตลาดใหม่ เป็นต้น

นักดำน้ำ…โลกใต้ทะเล…และมาตรฐานไอเอสโอ

การดำน้ำลึกเป็นความหลงใหลอย่างยิ่งสำหรับนักดำน้ำนับล้านคนทั่วโลก พวกเขาต่างมีความรักในโลกใต้น้ำเช่นเดียวกัน อย่างไรก็ตาม กิจกรรมดำน้ำที่ขาดการฝึกฝนด้วยความรับผิดชอบ สามารถทิ้งร่องรอยของตัวเองไว้กับสิ่งแวดล้อมทางทะเลได้ ดังนั้น เพื่อตอบสนองความต้องการที่เพิ่มขึ้นสำหรับการผจญภัยใต้น้ำ และช่วยดูแลสิ่งแวดล้อมให้มีการดำน้ำอย่างยั่งยืน ไอเอสโอจึงได้พัฒนามาตรฐานขึ้นมา 2 ฉบับ ได้แก่ มาตรฐาน ISO 21416, Recreational diving services – Requirements and guidance on environmentally sustainable practices in recreational diving และ ISO 21417, Recreational diving services – Requirements for training on environmental awareness for recreational divers

ISO 41001 ช่วยจัดการสิ่งอำนวยความสะดวกได้อย่างมีประสิทธิผล

มาตรฐาน ISO 41001 เป็นมาตรฐานที่ไอเอสโอพัฒนาขึ้นเพื่อช่วยให้ทีมบริหารจัดการสิ่งอำนวยความสะดวกสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิผลสูงสุด โดยให้ความสำคัญกับวิธีปฏิบัติที่ดีที่สุดในระดับสากลซึ่งเป็นมาตรฐานระบบการบริหารจัดการที่ประกอบด้วยการเปรียบเทียบเพื่อพัฒนาและขับเคลื่อนในด้านกลยุทธ์ ยุทธวิธี และการปฏิบัติงานด้านการบริหารจัดการสิ่งอำนวยความสะดวกอย่างมีประสิทธิผล

ไอเอสโอปรับปรุงมาตรฐานรหัสยืนยันตัวตนทางกฏหมาย

อเล็กซานเดร การ์ริโด ผู้นำโครงการของกลุ่มผู้เชี่ยวชาญที่พัฒนามาตรฐาน ISO 21102 ระบุว่าคุณสมบัติสำหรับความรู้ความสามารถของผู้นำในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวนั้นอาจนำไปสู่การเกิดอันตรายได้ถ้าไม่มีความเข้าใจเป็นอย่างดี เนื่องจากกิจกรรมที่แตกต่างกันจำเป็นต้องใช้ความรู้ความสามารถที่แตกต่างกัน แต่ก็มีคุณสมบัติหลายอย่างที่เป็นคุณสมบัติร่วมกัน เช่น การบริหารความเสี่ยง การตอบสนองกรณีเกิดเหตุฉุกเฉิน พฤติกรรมและจริยธรรมแบบมืออาชีพ เป็นต้น

คู่มือความปลอดภัยและอาชีวอนามัยฉบับใหม่สำหรับ SMEs

มาตรฐาน ISO 45001, Occupational health and safety management systems – Requirements with guidance for use มีจุดมุ่งหมายเพื่อลดสถิติในเรื่องโรคภัยหรืออุบัติเหตุจากการทำงานโดยมีผู้เชี่ยวชาญจากทั่วโลกมาจัดทำกรอบร่วมกัน เพื่อลดความเสี่ยงในสถานที่ทำงาน เสริมสร้างสุขภาพ เพิ่มความปลอดภัย และส่งเสริมความเป็นอยู่ที่ดีในที่ทำงาน

ไอเอสโอพัฒนามาตรฐานช่วยเมืองจัดงานอีเว้นท์ใหญ่

การใช้มาตรฐาน ISO 22379 จึงไม่เพียงแต่ช่วยให้การจัดอีเว้นท์ขนาดใหญ่มีการปรับปรุงที่ดีขึ้นเท่านั้น แต่ยังทำให้เมืองมีความสามารถในการเป็นเจ้าภาพในแบบที่มีส่วนร่วมต่อเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนขององค์การสหประชาชาติด้วย

มาตรฐานสากลเพื่ออาหารปลอดภัย

มาตรฐานล่าสุดที่ไอเอสโอได้ตีพิมพ์เผยแพร่ คือ ISO/TS 22002-5, Prerequisite programmes on food safety – Part 5: Transport and storage ซึ่งมีโครงสร้างข้อกำหนดเกี่ยวกับ PRPs สำหรับการขนส่งและการจัดเก็บในห่วงโซ่อาหาร

มาตรฐานไอเอสโอช่วยยกระดับการท่องเที่ยวสากล

พาลัด ซิงห์ พาเทล รัฐมนตรีกระทรวงการท่องเที่ยวและวัฒนธรรมของอินเดียซึ่งเป็นเจ้าภาพในการจัดงานวันท่องเที่ยวโลกกล่าวว่า การท่องเที่ยวเป็นหนึ่งในภาคส่วนชั้นนำที่มีการจ้างงานถึง 10% ของการจ้างงานทั่วโลก และการพัฒนาการท่องเที่ยวมีส่วนเชื่อมโยงโดยตรงต่อการพัฒนาชุมชน ซึ่งเป็นตัวขับเคลื่อนหลักของการพัฒนาอย่างยั่งยืน มาตรฐานหลายมาตรฐานของไอเอสโอมีส่วนช่วยสนับสนุนให้โลกมีการพัฒนาอย่างยั่งยืน และสร้างงานที่ดี มีคุณค่ามากขึ้นด้วย

ฉลอง “อพอลโล่ 11” ครบรอบ 50 ปี

ปัจจุบัน ความพยายามในเรื่องของการมาตรฐานเพื่อความปลอดภัยของยานอวกาศปรากฏอยู่ในการดำเนินงานของคณะกรรมการวิชาการ ISO/TC 20 20, Aircraft and space vehicles ซึ่งมีผลงานการพัฒนามาตรฐานแล้วเสร็จไปถึง 668 ฉบับ และยังมีมาตรฐานที่อยู่ในระหว่างการพัฒนาอีก 218 ฉบับ โดยมีเลขานุการของคณะกรรมการวิชาการคือ ANSI ซึ่งเป็นสถาบันมาตรฐานแห่งชาติของประเทศสหรัฐอเมริกาซึ่งเป็นประเทศที่ได้ส่งนักบินอวกาศไปสำรวจดวงจันทร์เป็นคนแรกของโลกนั่นเอง