ไอเอสโอแนะมาตรฐานสร้างความยืดหยุ่นทางไซเบอร์ให้องค์กร

การรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์ไม่ใช่เรื่องใหม่แต่อย่างใด ในโลกที่เชื่อมต่อถึงกันมากขึ้น เรามีความเสี่ยงจากการโจมตีทางไซเบอร์ที่มีมากขึ้นต่อผู้คน องค์กร บริการ และระบบ เมื่อเทคโนโลยีเติบโตขึ้นอย่างซับซ้อน อาชญากรไซเบอร์ก็เก่งกาจมากขึ้นเช่นกัน ความไม่แน่นอนเหล่านั้นมีอยู่มากมาย การสร้างความไว้วางใจในความปลอดภัยทางไซเบอร์จึงควรอยู่ในระดับสูงสุด ซึ่งในการสร้างความมั่นใจว่าระบบขององค์กรจะมีความมั่นคงปลอดภัย ไอเอสโอได้นำมาพิจารณาจัดทำอยู่ในข้อกำหนดสำหรับมาตรฐานสากล 2 ฉบับอย่างครอบคลุม ได้แก่ ISO/IEC 15408 และ ISO/IEC 18045

มาตรฐานที่ช่วยขับเคลื่อนองค์กรสู่ความยั่งยืน

ไม่ว่าจะพิจารณาในแง่มุมใด องค์กรจำเป็นต้องให้ความสำคัญกับการดำเนินกิจการโดยคำนึงถึงประเด็นความยั่งยืนยั่งยืน โดยองค์กรสามารถบูรณาการตามแนวทางด้านความยั่งยืนเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการดำเนินกิจการ ซึ่งจะเป็นส่วนสำคัญในการผลักดันให้ทั่วโลกบรรลุเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนได้ต่อไป

ISO 28000 ช่วยลดความเสี่ยงตลอดทั้งห่วงโซ่อุปทาน

มาตรฐาน ISO 28000 สามารถนำไปใช้เป็นกรอบการทำงานโดยเป็นวิธีปฏิบัติในการลดความเสี่ยงให้กับผู้เกี่ยวข้องตลอดทั้งห่วงโซ่อุปทาน ทำให้สามารถบรรเทาความเสี่ยงและจัดการความมั่นคงปลอดภัยได้เป็นอย่างดี สามารถปกป้องบุคลากร สินค้า โครงสร้างพื้นฐานและอุปกรณ์ รวมทั้งการขนส่ง การป้องกันอุบัติเหตุ และการป้องกันผลกระทบที่มีแนวโน้มว่าจะเกิดขึ้น โดยสามารถใช้ได้ตลอดทั้งวัฏจักรขององค์กรในกิจกรรมใดก็ได้ทั้งภายในและภายนอกองค์กรในทุกระดับ

แนะนำมาตรฐานการจัดการสวนป่าไม้เศรษฐกิจอย่างยั่งยืน

มาตรฐานนี้เหมาะสำหรับเจ้าของ ผู้ประกอบการ หรือผู้จัดการสวนป่า ใช้สำหรับการยื่นสมัคร เพื่อขอการรับรองพื้นที่สวนป่าไม้เศรษฐกิจของตนเอง รวมท้ังเป็นข้อกำหนดที่บังคับใช้กับผู้รับเหมาและผู้ปฏิบัติงานอื่นๆ ที่ปฏิบัติงานในพื้นที่สวนป่าไม้เศรษฐกิจที่ขอการรับรองด้วย

สร้างอนาคตด้วยการจัดซื้ออย่างยั่งยืน

โดยทั่วไป เมื่อนึกถึงเรื่องของความยั่งยืน การจัดซื้ออาจไม่ใช่สิ่งแรกที่เรานึกถึง แต่ในความเป็นจริงแล้ว ห่วงโซ่อุปทานของบริษัท (หรือองค์กร) มีบทบาทอย่างมากในการพิจารณาว่าการดำเนินธุรกิจของบริษัทมีความยั่งยืนเพียงใด ตัวอย่างเช่น รายงานด้านความยั่งยืนของแม็คคินซีย์ระบุว่า ห่วงโซ่อุปทานของบริษัทด้านการบริโภคทั่วไปมีส่วนในการปล่อยก๊าซเรือนกระจกมากกว่าร้อยละ 80 และส่งผลกระทบต่อทรัพยากรธรรมชาติมากกว่าร้อยละ 90 นอกจากนั้น อุตสาหกรรมอื่นๆ ก็ยังสามารถติดตามผลกระทบทางสังคมและสิ่งแวดล้อมที่มีต่อแนวทางการจัดซื้อได้อีกด้วย

นักดำน้ำ…โลกใต้ทะเล…และมาตรฐานไอเอสโอ

การดำน้ำลึกเป็นความหลงใหลอย่างยิ่งสำหรับนักดำน้ำนับล้านคนทั่วโลก พวกเขาต่างมีความรักในโลกใต้น้ำเช่นเดียวกัน อย่างไรก็ตาม กิจกรรมดำน้ำที่ขาดการฝึกฝนด้วยความรับผิดชอบ สามารถทิ้งร่องรอยของตัวเองไว้กับสิ่งแวดล้อมทางทะเลได้ ดังนั้น เพื่อตอบสนองความต้องการที่เพิ่มขึ้นสำหรับการผจญภัยใต้น้ำ และช่วยดูแลสิ่งแวดล้อมให้มีการดำน้ำอย่างยั่งยืน ไอเอสโอจึงได้พัฒนามาตรฐานขึ้นมา 2 ฉบับ ได้แก่ มาตรฐาน ISO 21416, Recreational diving services – Requirements and guidance on environmentally sustainable practices in recreational diving และ ISO 21417, Recreational diving services – Requirements for training on environmental awareness for recreational divers

สัมผัสประสบการณ์ท่องเที่ยวตามเทรนด์โลกด้วยมาตรฐานไอเอสโอ

โรงแรมและที่พักมีความสำคัญต่อกิจกรรมการท่องเที่ยวและมีศักยภาพมหาศาลสำหรับการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน และทั่วโลกยังคงให้ความสนใจในด้านความยั่งยืนซึ่งช่วยทำให้ผู้คนทั่วโลกปรารถนาที่จะสัมผัสการบริการและผลิตภัณฑ์ที่มีความยั่งยืนมากขึ้น เมื่อนักเดินทางตระหนักถึงความสำคัญของความยั่งยืนมากขึ้น ก็จะสามารถเพลิดเพลินกับวันหยุดอย่างมีความสุข โดยตระหนักรู้ว่าพวกเขามีส่วนในการปกป้องโลกของเราด้วยการเลือกที่พักที่ยั่งยืนไปพร้อม ๆ กับบริการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมอันเป็นแนวโน้มด้านการท่องเที่ยวของโลกที่สำคัญ

มั่นใจในความปลอดภัยของอาหารด้วยมาตรฐาน ISO 22000

สำหรับมาตรฐานระบบการจัดความปลอดภัยของอาหารของไอเอสโอ ช่วยให้องค์กรสามารถระบุและควบคุมอันตรายด้านความปลอดภัยของอาหารได้ และในขณะเดียวกันยังสามารถนำไปใช้งานร่วมกับมาตรฐานการจัดการไอเอสโอฉบับอื่นได้ด้วยโดยสามารถนำไปใช้กับผู้ผลิตทุกประเภทที่อยู่ในห่วงโซ่อุปทาน ช่วยให้ผลิตภัณฑ์สามารถส่งข้ามพรมแดนไปยังผู้บริโภคซึ่งทำให้พวกเขาไว้วางใจได้

เสริม EMS ด้วยการออกแบบเชิงนิเวศ “ISO 14006”

การออกแบบและการพัฒนาถือเป็นกระบวนการที่สำคัญซึ่งการออกแบบเชิงนิเวศได้รวมอยู่ในมาตรฐานฉบับนี้แล้ว คือ ISO 14006 – Environmental management systems — Guidelines for incorporating eco-design มาตรฐานฉบับนี้เป็นส่วนเสริมของมาตรฐานชุด ISO 14000 ซึ่งได้รับการออกแบบมาเพื่อให้คำแนะนำสำหรับองค์กรที่ต้องการรวมการออกแบบเชิงนิเวศเข้ากับระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม (EMS) ที่ใช้ ISO 14001 รวมทั้งองค์กรที่ใช้ระบบการจัดการอื่นๆ ก็สามารถนำไปใช้ร่วมกันได้เช่นกัน

ISO 22301 ทางเลือกและทางรอดที่ยั่งยืนของธุรกิจยุคใหม่

ISO 22301 สามารถให้รายละเอียดมุมมองที่ชัดเจนว่าองค์กรควรดำเนินการอย่างไร และให้การนำเสนอข้อมูลเชิงลึกซึ่งเป็นประโยชน์ต่อการวางแผนกลยุทธ์ การบริหารความเสี่ยง การจัดการห่วงโซ่อุปทาน การเปลี่ยนแปลงทางธุรกิจ และการจัดการทรัพยากร