ไอเอสโอร่วมต่อสู้กับมหันตภัยภาวะโลกร้อน

ในมุมมองของชีลา เล็กเก็ตต์ ไอเอสโอมีมาตรฐานทั้งหมดที่จำเป็นในการสนับสนุนวาระสภาพภูมิอากาศอยู่แล้ว แต่ความท้าทายที่แท้จริงคือหาวิธีจัดกลุ่มมาตรฐานที่ส่งเสริมให้มีการใช้งานได้อย่างเหมาะสม ซึ่งยังมีร่างมาตรฐานใหม่ในสาขานี้ที่ต้องทำทั้งหมดอีกจำนวนหนึ่งด้วย

มาตรฐานไอเอสโอกับเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน

มาตรฐานไอเอสโอมีบทบาทสำคัญในการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน นอกจากไอเอสโอจะพัฒนามาตรฐานที่เกี่ยวข้องกับเรื่องของสิ่งแวดล้อมโดยตรงแล้ว ไอเอสโอยังได้รวมเอาประเด็นสำคัญด้านการพัฒนาอย่างยั่งยืนเข้าไปในการพัฒนามาตรฐานสากลทั้งในระดับนโยบายและระดับปฏิบัติการด้วย โดยไอเอสโอได้ร่วมมือกับพันธมิตรระดับโลกในการพัฒนามาตรฐานสากลตามแนวทางการพัฒนาอย่างยั่งยืนที่เน้นทั้งด้านสังคม เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อม

อุตสาหกรรมทั่วโลกกำลังก้าวสู่เศรษฐกิจหมุนเวียน

มาตรฐานความยั่งยืน โดยเฉพาะเรื่องเศรษฐกิจหมุนเวียน กำลังได้รับการพัฒนาในระดับประเทศและระดับโลกโดยองค์กรต่างๆ รวมถึงไอเอสโอผ่านคณะกรรมการวิชาการ ISO/TC 323, Circular Economy ซึ่งดำเนินการเพื่อมาตรฐานการออกแบบเชิงนิเวศที่คำนึงถึงการบริโภควัสดุที่ยั่งยืน พลังงานและทรัพยากรอื่นๆ ในทุกขั้นตอนของผลิตภัณฑ์ กระบวนการพัฒนา

ทักษะแรงงานที่ต้องมีสำหรับเศรษฐกิจสีเขียว

ปัจจุบันนี้ LinkedIn ได้รายงานเมื่อเปรียบเทียบทักษะสีเขียวที่สำคัญที่สุดสำหรับนายจ้างกับทักษะที่สำคัญที่สุดสำหรับผู้สมัครแล้ว พบว่าตรงกันเพียง 50% เท่านั้น แต่มาตรฐานที่ใช้ร่วมกันสามารถช่วยลดช่องว่างระหว่างทักษะที่จำเป็นและทักษะที่มีอยู่ และทำให้การเปลี่ยนแปลงสีเขียวประสบความสำเร็จสำหรับทุกคนได้

มาตรฐานที่ช่วยขับเคลื่อนองค์กรสู่ความยั่งยืน

ไม่ว่าจะพิจารณาในแง่มุมใด องค์กรจำเป็นต้องให้ความสำคัญกับการดำเนินกิจการโดยคำนึงถึงประเด็นความยั่งยืนยั่งยืน โดยองค์กรสามารถบูรณาการตามแนวทางด้านความยั่งยืนเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการดำเนินกิจการ ซึ่งจะเป็นส่วนสำคัญในการผลักดันให้ทั่วโลกบรรลุเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนได้ต่อไป

พลิกวิกฤตให้เป็นโอกาสกับ Net Zero

ปัญหาการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ หรือภาวะโลกร้อนที่เกิดขึ้นจากการปล่อยก๊าซเรือนกระจก คือปัญหาระดับโลกที่มีการกล่าวถึงผลกระทบในด้านต่างๆ มานานหลายปี นอกจากการแก้ปัญหานี้ในระดับบุคคลด้วยการลดใช้ทรัพยากร หรือหมุนเวียนทรัพยากรมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดแล้ว สิ่งสำคัญคือองค์กรขนาดใหญ่ ภาคธุรกิจ ภาคอุตสาหกรรม ภาคการขนส่ง ภาคเกษตรกรรม ต่างก็มีส่วนสำคัญในการสร้างผลกระทบดังกล่าว ดังนั้น ทุกองค์กรจึงจำเป็นต้องร่วมมือกันปรับเปลี่ยนการทำงาน ให้สอดคล้องกับเป้าหมายในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกให้ได้มากที่สุด

นักดำน้ำ…โลกใต้ทะเล…และมาตรฐานไอเอสโอ

การดำน้ำลึกเป็นความหลงใหลอย่างยิ่งสำหรับนักดำน้ำนับล้านคนทั่วโลก พวกเขาต่างมีความรักในโลกใต้น้ำเช่นเดียวกัน อย่างไรก็ตาม กิจกรรมดำน้ำที่ขาดการฝึกฝนด้วยความรับผิดชอบ สามารถทิ้งร่องรอยของตัวเองไว้กับสิ่งแวดล้อมทางทะเลได้ ดังนั้น เพื่อตอบสนองความต้องการที่เพิ่มขึ้นสำหรับการผจญภัยใต้น้ำ และช่วยดูแลสิ่งแวดล้อมให้มีการดำน้ำอย่างยั่งยืน ไอเอสโอจึงได้พัฒนามาตรฐานขึ้นมา 2 ฉบับ ได้แก่ มาตรฐาน ISO 21416, Recreational diving services – Requirements and guidance on environmentally sustainable practices in recreational diving และ ISO 21417, Recreational diving services – Requirements for training on environmental awareness for recreational divers

การลดคาร์บอนการบินสากลกับ CORSIA

โครงการชดเชยและการลดคาร์บอนสำหรับการบินระหว่างประเทศ (CORSIA) เป็นโครงการระดับโลกเพื่อจัดการกับการปล่อยมลพิษจากการเดินทางทางอากาศระหว่างประเทศ ข้อตกลงเมื่อปี 2559 โดยองค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศ (ICAO) กำหนดให้สายการบินต้องตรวจสอบและรายงานการปล่อยมลพิษตั้งแต่ปี 2562 และซื้อหน่วยลดการปล่อยมลพิษที่สร้างขึ้นโดยโครงการในภาคส่วนอื่น ๆ เพื่อให้ครอบคลุมการควบคุมการเพิ่มขึ้นของการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่สูงกว่าระดับ 2020 จากปี 2564

ปรับปรุงประสิทธิภาพพลังงานขององค์กรด้วย ISO 50001

หนึ่งในมาตรฐานไอเอสโอที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในขณะนี้คือ มาตรฐาน ISO 50001 ระบบการจัดการพลังงานซึ่งเมื่อปี 2563 (ค.ศ.2020) มีผู้ได้รับการรับรองทั่วโลกเกือบสองหมื่นราย และสำหรับองค์กรที่มุ่งมั่นที่จะจัดการกับผลกระทบ การอนุรักษ์ทรัพยากร และปรับปรุงการจัดการพลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ มาตรฐาน ISO 50001 คือคำตอบที่ดี

ไอเอสโอกับมาตรฐานเพื่อรับมือกับสภาพภูมิอากาศ

วอลเตอร์ คอล์เลนบอร์น ที่ปรึกษาด้านสภาพภูมิอากาศของบริษัท อเดลฟีฯ (adelphi) และผู้ประสานงานของคณะทำงานที่พัฒนามาตรฐาน ISO14091 อธิบายว่า การทำความเข้าใจความแตกต่างระหว่างการดำเนินการด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศกับสิ่งที่ยังไม่ได้ดำเนินการหรือ gap ขององค์กรเป็นส่วนสำคัญของการปรับตัว ซึ่งเป็นเหตุผลหลักที่ทำให้คณะทำงานจัดหาเครื่องมือเพื่อนำมาพิจารณาในการพัฒนามาตรฐานดังกล่าว